10 ตุลาคม 2551
โปรแกรมคำนวณน้ำประปา
พัฒนาโปรแกรมเพื่อทำการแสดงผลดังตัวอย่าง (File name: star.cpp)
**
***
โปรแกรมเพื่อหาผลรวมของตัวเลขคู่ และเลขคี่ ที่อยู่ระหว่าง 0 ถึง 100
โปรแกรมแสดงเลขคู่
โปรแกรมแสดงเลข 1 – 20
โปรแกรมเพื่อรับจำนวนเงินบาท
โปรแกรมรับตัวอักษรภาษาอังกฤษ
โปรแกรม สำหรับคำนวณน้ำหนักมาตรฐาน
โปรแกรมเครื่องคิดเลข
โปรแกรมรับคะแนนกลางภาค ปลายภาค
โปรแกรมรับตัวเลข 0-100 50_3.cpp
โปรแกรมเพื่อรับตัวเลข 0-100
10 สิงหาคม 2551
แบบฝึกหัดการวิเคราะห์งานและเขียน Flowchart
1. การวิเคราะห์งานเพื่อเขียนโปรแกรมคำนวณหาพื้นที่สี่เหลี่ยมจตุรัสจำนวน 1 รูป
1. วัตถุประสงค์ของงาน
คำนวณหาพื้นที่สี่เหลี่ยมจตุรัส
2. ผลลัพธ์
แสดงผลขุอมูล ความยาวด้านของสี่เหลี่ยมจตุรัส และพื้นที่สี่เหลี่ยมจตุรัส
width = 5 cm
area = 25 cm2
3. ข้อมูลนำเข้า
ความยาวของด้านสี่เหลี่ยมจตุรัส
4. ตัวแปรที่ใช้
width หมายถึง ความยาวของด้านสี่เหลี่ยนจตุรัส
area หมายถึง พื้นที่สี่เหลี่ยมจตุรัส
5. ลำดับงาน
5.1 ป้อนข้อมูลความยาวของด้านสี่เหลี่ยมจตุรัส
5.2 คำนวณหาพื้นที่สี่เหลี่ยนจตุรัส
area = width * width
5.3 แสดงพลลัพธ์
5.4 จบการทำงาน
---------------------------------------------------------------
2. การวิเคราะห์งานเพื่อเขียนโปรแกรมคำนวณหาพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้าจำนวน 1 รูป
1. วัตถุประสงค์ของงาน
คำนวณหาพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า
2. ผลลัพธ์
แสดงผลข้อมูล ความกว้าง,ความยาวด้านของสี่เหลี่ยมผืนผ้าและพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า
height= 4 cm
width = 5 cm
area = 20 cm2
3. ข้อมูลนำเข้า
ความกว้าง,ความยาวของด้านสี่เหลี่ยม
4. ตัวแปรที่ใช้
height หมายถึง ความกว้างของด้านสี่เหลี่ยนผืนผ้า
width หมายถึง ความยาวของด้านสี่เหลี่ยนผืนผ้า
area หมายถึง พื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า
5. ลำดับงาน
5.1 ป้อนข้อมูลความยาวของด้านสี่เหลี่ยมผืนผ้า
5.2 คำนวณหาพื้นที่สี่เหลี่ยนผืนผ้า
area = width * height
5.3 แสดงพลลัพธ์
5.4 จบการทำงาน
---------------------------------------------------------------
3. การวิเคราะห์งานเพื่อเขียนโปรแกรมคำนวณอายุจากปี พ.ศ. เกิด
1. วัตถุประสงค์ของงาน
คำนวณอายุจากปี พ.ศ. เกิด
2. ผลลัพธ์
แสดงผลข้อมูลอายุ
3. ข้อมูลนำเข้า
ปี พ.ศ. เกิด
4. ตัวแปรที่ใช้
age หมายถึง อายุ
year หมายถึง ปี พ.ศ. เกิด
systemyear หมายถึง ปี พ.ศ. ปัจจุบัน จากระบบ
5. ลำดับงาน
5.1 ป้อนข้อมูลปีเกิด
5.2 คำนวณหาอายุ
age = systemyear * year
5.3 แสดงพลลัพธ์
5.4 จบการทำงาน
---------------------------------------------------------------
4. การวิเคราะห์งานเพื่อเขียนโปรแกรมคำนวณหาน้ำหนักโดยเฉลี่ยของนักศึกษาจำนวน 3 คน
1. วัตถุประสงค์ของงาน
คำนวณหาน้ำหนักโดยเฉลี่ยของนักศึกษาจำนวน 3 คน
2. ผลลัพธ์
แสดงผลข้อมูล น้ำหนักโดยเฉลี่ยของนักศึกษาจำนวน 3 คน
3. ข้อมูลนำเข้า
น้ำหนักของนักศึกษาคนที่ 1,2,3
4. ตัวแปรที่ใช้
weight1 หมายถึง น้ำหนักของนักศึกษาคนที่ 1
weight2 หมายถึง น้ำหนักของนักศึกษาคนที่ 2
weight3 หมายถึง น้ำหนักของนักศึกษาคนที่ 3
average หมายถึง น้ำหนักโดยเฉลี่ยของนักศึกษาจำนวน 3 คน
5. ลำดับงาน
5.1 ป้อนข้อมูลน้ำหนักของนักศึกษาคนที่ 1,2,3
5.2 คำนวณหาน้ำหนักโดยเฉลี่ยของนักศึกษาจำนวน 3 คน
average = (weight1 + weight2 + weight3 ) / 3
5.3 แสดงพลลัพธ์
5.4 จบการทำงาน
---------------------------------------------------------------
5. การวิเคราะห์งานเพื่อเขียนโปรแกรมคำนวณหาเงินโบนัสจากเงินเดือน
1. วัตถุประสงค์ของงาน
คำนวณหาเงินโบนัสที่ได้รับจากเงินเดือน
2. ผลลัพธ์
แสดงผลข้อมูล เงินโบนัสที่ได้รับจากเงินเดือน
3. ข้อมูลนำเข้า
เงินเดือน และจำนวนเดือนที่ได้รับโบนัส
4. ตัวแปรที่ใช้
bonus หมายถึง เงินโบนัสที่ได้รับจากเงินเดือน
month หมายถึง จำนวนเดือนที่ได้รับโบนัส
saralyหมายถึง เงินเดือน
5. ลำดับงาน
5.1 ป้อนข้อมูลเงินเดือน, จำนวนเดือนที่ได้รับเงินเดือน
5.2 คำนวณหาเงินโบนัสที่ได้รับจากเงินเดือน
bonus = saraly * month
5.3 แสดงพลลัพธ์
5.4 จบการทำงาน
---------------------------------------------------------------
30 มิถุนายน 2551
คำถามท้ายบทที่ 1
ตอบ 8 ประเภท ได้แก่
1. ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer)
3.มินิคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง (minicomputer)
4.เวิร์คสเตชัน
5.ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer)
6.PDA
7.คอมพิวเตอร์เครือข่าย
8.คอมพิวเตอร์แบบฝัง
ข้ิอที่ 2. คอมพิวเตอร์แบบฝังคืออ่ะไร
ตอบ เป็นคอมพิวเตอร์ที่ฝังในอุปกรณ์ต่าง ๆ นิยมนำมาใช้ทำงาน เฉพาะด้าน พิจารณาจากภายนอกจะไม่เห็นว่าเป็นคอมพิวเตอร์แต่จะ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานบางอย่างของอุปกรณ์นั้นๆ คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ เช่น เครื่องเล่นเกม ระบบเติมน้ำมันอัตโนมัติ โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น
ข้ิอที่ 3. ข้อมูลและสารสนเทศ แตกต่างกันอย่างไร
ตอบ สารสนเทศสามารถนำไปใช้งานได้เลยเนื่องจากว่าผ่านการประมวลผลมาแล้ว
ซึ่งแตกต่างกับข้อมูลเนื่องจากข้อมูลยังไม่ได้การผ่านประมวลผลใด ๆ จากแหล่งที่มาเลย
ข้ิอที่ 4. VLSI คืออะไร สำคัญต่อคอมพิวเตอร์อย่างไร
ตอบ วงจรทรานซิสเตอร์จำนวนหลายพันตัวลงบนแผ่นซิลิคอนขนาด 1/6 ตารางนิ้ว เรียกว่า วงจรรวมความจุสูงมากหรือวีแอลเอสไอ (Very Large Scale Integrated Circuit : VLSI) จากการประดิษฐ์วีแอลเอสไอสามารถนำมาสร้างเป็นไมโครโพรเซสเซอร์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นหน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู (Central Processing Unit : CPU) ของคอมพิวเตอร์ และสามารถลดขนาดของคอมพิวเตอร์ให้เล็กลงจนสามารถตั้งบนโต๊ะทำงานในสำนักงาน หรือพกพาไปในที่ต่างๆ เหมือนกระเป๋าหิ้วได้ เรียกเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เกิดในยุคนี้ว่าไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer)
ข้ิอที่ 5. นิสิตใช้คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวันอย่างไร
ตอบ ใช้ในการสืบค้นหาข้อมูล ความรู้ ที่ต้องการผ่านทางอินเทอร์เน็ต
หรือแม้นแต่งใช้คลายเครียด เช่น ฟังเพลง ดูหนัง และเล่นเกมส์
ที่มาของภาพ และเอกสารที่เกี่ยวข้อง
http://fp.cse.wustl.edu/UrbauerLabs/images/115%20Workstation.jpg
http://trams.co.uk/images/product_hp_workstation_img.jpg
http://www.securedecisions.com/Members/admin/visual-discovery-in-computer-network-defense/2007-11-12.7595112319/image
http://blog.stodge.org/wp-content/formattedinternet.jpg
http://www.flowinjection.com/Brochures/FIAlab4500.JPG
http://www.vlsilab.polito.it/graphic/LucentTurboDecoder.jpg
http://203.154.140.4/ebook/files/chap3-7.htm
14 มิถุนายน 2551
"ไอซีที"ให้ความรู้-สกัดภัยแฝงอินเทอร์เน็ตด้วย“ไอซีทีเฮาส์คีปเปอร์”
กระทรวงไอซีที ตระหนักถึงภัยแฝงจากอินเทอร์เน็ตในกลุ่มเยาวชน เร่งให้ความรู้วิธีป้องกันด้วยโปรแกรมไอซีที เฮาส์คีปเปอร์แก่ครู อาจารย์และผู้ปกครองทุกภูมิภาค
นายธานีรัตน์ ศิริปะชะนะ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เผยถึงความคืบหน้าของโครงการไอซีที เฮาส์คีปเปอร์ (ICT House Keeper) ว่า กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ได้ร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ โดยมอบหมายให้สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง ซึ่งเป็นผู้พัฒนาโปรแกรมเฮาส์คีปเปอร์และที่ปรึกษาโครงการ จัดการสัมมนาในหัวข้อ "การป้องกันภัยแฝงจากการใช้อินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ และเกมคอมพิวเตอร์ที่ไม่เหมาะสมสำหรับเยาวชน" ในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ
โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็น ครู อาจารย์ ผู้ปกครอง เยาวชน และประชาชนทั่วไป เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนตระหนักถึงภัยแฝงจากอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ และเกมคอมพิวเตอร์ที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งส่งเสริมให้สถาบันครอบครัวและสถานศึกษามีการนำโปรแกรมเฮาส์คีปเปอร์มาใช้ป้องกันเว็บไซต์และเกมที่ไม่เหมาะสมจากบุตรหลานและนักเรียนอย่างจริงจัง
กระทรวงไอซีทียังได้ร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ จัดการสัมมนาเพื่อให้ความรู้และเป็นช่องทางในการเผยแพร่ซีดีรอมโปรแกรมต่อไปอีก โดยในวันศุกร์ที่ 13 มิถุนายนนี้ จะจัดสัมมนาครั้งที่ 3 ที่จังหวัดอุบลราชธานี ครั้งที่ 4 ในวันเสาร์ที่ 21 มิถุนายน 2551 ณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และครั้งที่ 5 จะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน 2551 ณ จังหวัดฉะเชิงเทรา ส่วนครั้งที่ 6 จะจัดที่กรุงเทพฯ
ผู้ที่สนใจติดตั้งโปรแกรมเฮาส์คีปเปอร์สามารถดาวน์โหลดได้ที่ www.mict.go.th ซึ่งโปรแกรมเฮาส์คีปเปอร์นี้ไม่เพียงแต่ทำให้ผู้ปกครองและสถานศึกษาสามารถปิดกั้นการเข้าถึงเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมและกำหนดเวลาในการใช้งานคอมพิวเตอร์หรือเล่นเกมสำหรับเยาวชนได้เท่านั้น ผู้ปกครองยังสามารถตรวจดูการใช้งานคอมพิวเตอร์ของบุตรหลาน ช่วยผู้ปกครองนำข้อมูลไปใช้ในการอบรม บุตรหลานให้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์
อ้างอิงจาก :
ผู้จัดการออนไลน์ 11 มิถุนายน 2551 14:41 น.
http://www.manager.co.th/cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9510000068324
12 มิถุนายน 2551
ซอฟต์แวร์ปาร์คผนึกองค์กรรัฐ-เอกชน ร่วมจัดสัมมนาพัฒนาอุตฯซอฟต์แวร์ไทย
ดร.สุพัทธ์ พู่ผกา รองผู้อำนวยการ ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กล่าวว่า การจัดงานสัมมนา "Software Park Annual Conference 2008" นี้ถือเป็นการจัดงานครั้งแรกในปีนี้ เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศ นำไปสู่การสร้างและขยายโอกาสทางการตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศต่อไป
"ครั้งนี้เป็นการจัดสัมมนา เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ช่วยเสริมสร้างพัฒนาความสามารถทางด้านเทคโนโลยี เพื่อเชือมโยงกับบริษัท, องค์กรต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ โดยมีพันธมิตรหน่วยงานภาครัฐ-เอกชนให้การสนับสนุน"
สำหรับหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนที่เป็นผู้สนับสนุนหลักของการจัดงาน ได้แก่ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (SIPA), บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท ออราเคิล คอร์ปอเรชัน (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท ฮิวเล็ท แพคการ์ด (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท เอซิส โปรเฟสชันนัล เซ็นเตอร์, บริษัท ซัน ไมโครซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท อีเอ็มซี อินฟอร์เมชัน ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) เป็นต้น
นางสาวสุวิภา วรรณสาธพ ผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย กล่าวว่า ตนมองว่าอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ยังมีโอกาสในการเติบโตขึ้นอย่างแน่นอน จะเห็นได้จากที่ผ่านมาธุรกิจทางด้านซอฟต์แวร์มีการเติบโตอยู่ที่ 10-13% ซึ่งปัจจัยหลักอยู่ที่ตลาดเอสเอ็มอี โดยมีอินเทลเข้ามารองรับในตลาดนี้ ส่วนทิศทางในอนาคตนั้น ซอฟต์แวร์ปาร์คจะเลือกทำในสิ่งที่ตนเองถนัด ซึ่งเป็นความถนัดที่มีอยู่ในองค์กรอยู่แล้ว หรือหาคนเก่งตามที่ต่างๆ แล้วเข้าไปสร้างพันธมิตร หลังจากนั้นจึงดึงกลับไปพัฒนาต่อในองค์กร
สำหรับกิจกรรมงาน Software Park Annual Conference 2008 แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1. ส่วนของการจัดสัมมนา โดยมีวิทยากรที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญทางด้านไอที แบ่งเป็นช่วงเช้ามีหัวข้อที่น่าสนใจ อาทิ การบรรยายพิเศษในหัวข้อ "การเพิ่มขีดความสามารถธุรกิจไทยใน Digital Economy" การเสวนาเทคโนโลยี ICT ในอนาคตและการเตรียมความพร้อมก้าวทันเทคโนโลยีใหม่ เป็นต้น
ส่วนช่วงบ่ายแบ่งเป็๋นกลุ่มสัมมนาย่อยตามกลุ่มหัวข้อหลัก ได้แก่ Business Enabling, Technology & Innovation, Boost up IT Professional Spirit โดยงานจะมีขึ้นในวันอังคารที่ 24 มิถุนายน 2551 ตั้งแต่เวลา 8.30 - 17.00 น ที่ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
อ้างอิงจาก :
ผู้จัดการออนไลน์ 11 มิถุนายน 2551 14:50 น.
http://www.manager.co.th/cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9510000068446